วันศุกร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2551

การตรวจสอบอาคาร



ปัจจุบัน กฏหมายควบคุมอาคาร ได้กำหนดกฏเกณฑ์
ในการตรวจสอบอาคาร เพื่อความปลอดภัย ของผู้ใช้
อาคาร เพื่อให้ทุกคนได้รับความปลอดภัยในการใช้
อาคารดังกล่าว แล้วเมื่อมีเจ้าหน้าที่ ของทางราชการเข้ามา
เขาก็จะตรวจตราตาม หัวข้อหลักๆ ต่อไปนี้ครับ

การตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงของอาคาร

• การต่อเติมดัดแปลงปรับปรุงอาคาร

• การเปลี่ยนแปลงน้ำหนักบรรทุกบนพื้นอาคาร

• การเปลี่ยนสภาพการใช้อาคาร

• การเปลี่ยนแปลงวัสดุก่อสร้างหรือวัสดุตกแต่งอาคาร

• การชำรุดสึกหรอของอาคาร

• การวิบัติของโครงสร้างอาคาร

• การทรุดตัวของฐานรากอาคาร
การตรวจสอบระบบและอุปกรณ์ประกอบของอาคารๅ

1) ระบบบริการและอำนวยความสะดวก

• ระบบลิฟต์

• ระบบบันไดเลื่อน

• ระบบไฟฟ้า

• ระบบปรับอากาศ
2) ระบบสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม

• ระบบประปา

• ระบบระบายน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสีย

• ระบบระบายน้ำฝน

• ระบบจัดการมูลฝอย

• ระบบระบายอากาศ

• ระบบควบคุมมลพิษทางอากาศและเสียง
3) ระบบป้องกันและระงับอัคคีภัย

• ประตูหนีไฟ บันไดหนีไฟและทางหนีไฟ

• เครื่องหมายและไฟป้ายทางออกฉุกเฉิน

• ระบบระบายควันและควบคุมการแพร่กระจายควัน

• ระบบไฟฟ้าสำรองฉุกเฉิน

• ระบบลิฟต์ดับเพลิง

• ระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้

• ระบบการติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิง

• ระบบจ่ายน้ำดับเพลิง เครื่องสูบน้ำดังเพลิง และหัวฉีดน้ำดับเพลิง

• ระบบดับเพลิงอัตโนมัติ

• ระบบป้องกันฟ้าผ่า

การตรวจสอบสมรรถนะของระบบและอุปกรณ์ต่างๆ ของอาคาร

เพื่ออพยพผู้ใช้อาคาร

• สมรรถนะของประตูหนีไฟ บันไดหนีไฟและทางหนีไฟ

• สมรรถนะเครื่องหมาย และไฟป้ายทางออกฉุกเฉิน

• สมรรถนะระบบแจ้งสัญญาณเหตุเพลิงไหม้

การตรวจสอบระบบบริหารจัดการความปลอดภัยในอาคาร

• แผนการป้องกันและระงับอัคคีภัยในอาคาร

• แผนการซ้อมอพยพผู้ใช้อาคาร

• แผนการบริหารจัดการเกี่ยวกับความปลอดภัยในอาคาร

• แผนการบริหารจัดการของผู้ตรวจสอบอาคาร
ลักษณะบริเวณที่ต้องตรวจสอบ |||||

ผู้ตรวจสอบจะตรวจสอบ รายงาน และประเมินลักษณะ

บริเวณที่นอกเหนือจากอาคารดังต่อไปนี้

• ทางเข้าออกของรถดับเพลิง


ระบบโครงสร้าง |||||

ผู้ตรวจสอบจะตรวจสอบตามรายละเอียดดังต่อไปนี้

• ส่วนของฐานราก

• ระบบโครงสร้าง

• ระบบโครงหลังคา

สภาพการใช้งานตามที่เห็น การสั่นสะเทือนของพื้น

การแอ่นตัวของพื้น คาน หรือตง และการเคลื่อนตัวในแนวราบ

การเสื่อมสภาพของโครงสร้างที่จะมีผลกระทบต่อ

ความมั่นคงแข็งแรงของระบบโครงสร้างของอาคาร

ความเสียหายและอันตรายของโครงสร้าง เช่น

ความเสียหายเนื่องจากอัคคีภัย ความเสียหายจาก

การแอ่นตัว ของโครงข้อหมุน และการเอียงตัวของผนัง เป็นต้น

ระบบบริการและอำนวยความสะดวก |||||
ระบบลิฟต์ ผู้ตรวจสอบจะทำการตรวจสอบครอบคลุมอย่างน้อย ดังนี้

• ตรวจสอบอุปกรณ์ระบบลิฟต์

• ตรวจสอบการทำงานของลิฟต์

• ตรวจสอบการดูแลรักษา ซ่อมบำรุง มีรายงานการ

ตรวจสอบมีใบรับรองการตรวจสอบ และการทดสอบระบบในอดีตที่ผ่านมา

ระบบบันไดเลื่อน ผู้ตรวจสอบจะทำการตรวจสอบครอบคลุมอย่างน้อย ดังนี้

• ตรวจสอบอุปกรณ์ระบบของบันไดเลื่อน

• ตรวจสอบการทำงานของบันไดเลื่อน

• ตรวจสอบการดูแลรักษา ซ่อมบำรุง มีรายงานการตรวจสอบมี

ใบรับรองการตรวจสอบ และการทดสอบระบบในอดีตที่ผ่านมา

ระบบไฟฟ้า ผู้ตรวจสอบจะตรวจสอบระบบไฟฟ้าและบริภัณฑ์ไฟฟ้า ดังนี้

• สภาพสายไฟฟ้า ขนาดกระแสของสาย จุดต่อสาย และอุณหภูมิขั้วต่อสาย

• ท่อร้อยสาย รางเดินสาย และรางเคเบิล

• ขนาดเครื่องป้องกันกระแสเกินและพิกัดตัดกระแสของ

บริภัณฑ์ประธานแผงย่อย และแผงวงจรย่อย

• เครื่องตัดไฟรั่ว

• การต่อลงดินของบริภัณฑ์ ขนาดตัวนำต่อลงดิน

และความต่อเนื่องลงดิน ของท่อร้อยสาย รางเดินสาย รางเคเบิล

• ระบบไฟฟ้าของระบบลิฟต์

• ระบบไฟฟ้าของระบบปรับอากาศ

• ระบบไฟฟ้าของเครื่องสูบน้ำ

• ระบบไฟฟ้าของระบบบำบัดน้ำเสีย

• รายการอื่นตามตารางรายการตรวจสอบ

ผู้ตรวจสอบไม่ต้องตรวจสอบในลักษณะดังนี้

• วัดหรือทดสอบแผงสวิตซ์ ที่ต้องให้สายวัด

สัมผัสกับบริภัณฑ์ในขณะที่ แผงสวิตซ์นั้นมีไฟหรือใช้งานอยู่

• ทดสอบการใช้งานอุปกรณ์ป้องกันกระแสเกิน

• ถอดออกหรือรื้อบริภัณฑ์ไฟฟ้า นอกจากเพียงเปิดฝา

แผงสวิตซ์ แผงควบคุม เพื่อตรวจสภาพบริภัณฑ์

ระบบปรับอากาศ ผู้ตรวจสอบจะตรวจสอบระบบปรับอากาศ ดังนี้

• อุปกรณ์เครื่องเป่าลมเย็น (AHU)

• สภาพทางกายภาพของเครื่องเป่าลมเย็น

• สภาพการกระจายลมเย็นที่เกิดขึ้น

• สภาพของอุปกรณ์และระบบควบคุม

||||| ระบบสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม |||||

ผู้ตรวจสอบจะตรวจสอบระบบสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม ดังนี้

• สภาพทางกายภาพและการทำงานของเครื่องจักรและ

อุปกรณ์ที่ใช้ในระบบประปา ระบบบำบัดน้ำเสียและระบายน้ำเสีย

ระบบระบายน้ำฝน ระบบจัดการขยะมูลฝอย ระบบระบายอากาศ

และระบบควบคุมมลพิษทางอากาศและเสียง

• ความสะอาดของ ถังเก็บน้ำประปา

||||| ระบบป้องกันและระงับอัคคีภัย |||||

ผู้ตรวจสอบจะตรวจสอบความปลอดภัยด้านอัคคีภัย ดังต่อไปนี้

บันไดหนีไฟ ทางหนีไฟ เครื่องหมาย และไฟป้ายบอกทางออกฉุกเฉิน

ผู้ตรวจสอบจะทำการตรวจสอบครอบคลุมอย่างน้อย ดังนี้

• ตรวจสอบสภาพราวจับ และราวกันตก

• ตรวจสอบความส่องสว่างของแสงไฟ บนเส้นทาง

• ตรวจสอบอุปสรรคสิ่งกีดขวาง ตลอดเส้นทางจนถึง

เส้นทางออกสู่ภายนอก อาคาร

• ตรวจสอบการปิด – เปิดประตู ตลอดเส้นทาง

• ตรวจสอบป้ายเครื่องหมายสัญลักษณ์

ระบบระบายควันและควบคุมการแพร่กระจายควัน

ผู้ตรวจสอบจะทำการตรวจสอบครอบคลุมอย่างน้อย ดังนี้

• ตรวจสอบสภาพอุปกรณ์ พร้อมระบบอุปกรณ์ควบคุมการทำงาน

• ทดสอบการทำงานว่าสามารถใช้ได้ทันที่ เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน

ทั้งแบบ อัตโนมัติ และแบบที่ใช้มือ รวมทั้งสามารถทำงานได้ต่อเนื่อง

โดยไม่หยุดชะงักขณะเกิดเพลิงไหม้

• การรั่วไหลของอากาศภายในช่องบันไดแบบปิดทึบที่มีระบบพัดลม

อัดอากาศ รวมทั้งการออกแรงผลักประตูเข้าบันไดขณะพัดลมอัดอากาศ

ทำงาน

• ตรวจสอบช่องเปิด เพื่อการระบายควันจากช่องบันไดและอาคาร

รวมถึงช่องลมเข้าเพื่อเติมอากาศเข้ามาแทนที่ด้วย

• ตรวจสอบการดูแลรักษา ซ่อมบำรุง และการทดสอบระบบในอดีตที่ผ่านมา

ระบบไฟฟ้าสำรองฉุกเฉิน ผู้ตรวจสอบจะทำการตรวจสอบครอบคลุมอย่างน้อย ดังนี้

• ตรวจสอบสภาพและความพร้อมของแบตเตอรี่ เพื่อสตาร์ทเครื่องยนต์

• ตรวจสอบสภาพและความพร้อมของระบบจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง เครื่องยนต์

และปริมาณน้ำมันที่สำรองไว้

• ตรวจสอบการทำงานของระบบไฟฟ้าสำรอง ทั้งแบบอัตโนมัติและแบบที่ใช้มือ

• ตรวจสอบการระบายอากาศ ขณะเครื่องยนต์ทำงาน

• ตรวจสอบวงจรระบบจ่ายไฟฟ้า ให้แก่อุปกรณ์ช่วยเหลือชีวิต และที่สำคัญอื่น ๆ

ว่ามีความมั่นคงในการจ่ายไฟฟ้าดีขณะเกิดเพลิงไหม้ในอาคาร

• ตรวจสอบการดูแลรักษา ซ่อมบำรุง และการทดสอบระบบในอดีตที่ผ่านมา

ระบบลิฟต์ดับเพลิง ผู้ตรวจสอบจะทำการตรวจสอบครอบคลุมอย่างน้อย ดังนี้

• ตรวจสอบตามเกณฑ์ทั่วไปของลิฟต์

• ตรวจสอบสภาพโถงปลอดควันไฟ รวมทั้งช่วงเปิดต่าง ๆ และประตู

• ตรวจสอบอุปกรณ์ระบบป้องกันอัคคีภัยต่าง ๆ ภายในโถงปลอดควันไฟ

• ตรวจสอบการป้องกันน้ำไหลลงสู่ช่องลิฟต์ ( ถ้ามี )

• ตรวจสอบการทำงานของลิฟต์ดับเพลิง รวมทั้งสัญญาณกระตุ้นจากระบบ

แจ้งเหตุเพลิงไหม้ และการทำงานของระบบอัดอากาศ (ถ้ามี)

• ตรวจสอบการดูแลรักษา ซ่อมบำรุง มีรายงานการตรวจสอบมีใบรับรอง

การตรวจสอบ และการทดสอบระบบในอดีตที่ผ่านมา

ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ผู้ตรวจสอบจะทำการตรวจสอบครอบคลุมอย่างน้อย ดังนี้

• ตรวจสอบความเหมาะสมของชนิดอุปกรณ์ตรวจจับเพลิงไหม้

ในแต่ละห้อง /พื้นที่ ครอบคลุมครบถ้วน

• ตรวจสอบอุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือ , อุปกรณ์แจ้งเหตุต่าง ๆครอบคลุมครบถ้วน

ตำแหน่งของแผงควบคุมและแผงแสดงผลเพลิงไหม้

• ตรวจสอบการทำงานของอุปกรณ์ระบบฉุกเฉินต่าง ๆ ที่ใช้สัญญาณ

กระตุ้นระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้

• ตรวจสอบความพร้อมในการแจ้งเหตุทั้งแบบอัตโนมัติ และแบบที่ใช้มือ

ของระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้

• ตรวจสอบขั้นตอนการแจ้งเหตุอัตโนมัติ และช่วงเวลาแต่ละขั้นตอน

เกี่ยวกับการตรวจไฟฟ้า
หมวด 1
ข้อกําหนดทั่วไป

ข้อ 2 นายจ้างต้องจัดทําแผนผังวงจรไฟฟ้าทั้งหมดภายในสถานที่ประกอบการ

และได้รับการรับรองจากการไฟฟ้าประจําท้องถิ่นไว้ให้ตรวจสอบได้ตลอดเวลา

หากมีการแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงให้ผิดไปจากเดิม ต้องดําเนินการ

แก้ไขแผนผังนั้นให้ถูกต้อง

ข้อ 3 นายจ้างจะต้องจัดให้มีการตรวจสอบสภาพของสายไฟฟ้าและ

สภาพของอุปกรณ์ไฟฟ้า ถ้าหากพบว่าชํารุดหรือมีกระแสไฟฟ้ารั่ว

ให้ซ่อมแซมหรือเปลี่ยนใหม่ทันที

ข้อ 4 ให้นายจ้างจัดให้มีป้ายเตือนอันตรายติดตั้งในบริเวณที่จะ

เกิดอันตรายจากไฟฟ้าให้เห็นได้อย่างชัดเจน

ข้อ 5 ห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างเข้าใกล้ หรือนําสิ่งที่เป็นตัวนําซึ่ง

ไม่มีที่ถือเป็นฉนวนอย่างดีหุ้มอยู่เข้าใกล้สิ่งที่มีไฟฟ้าน้อยกว่าระยะ

ห่างที่กําหนดไว้ในตารางที่ 1 ยกเว้น

(1) ลูกจ้างผู้นั้นสวมใส่เครื่องป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าซึ่งเป็นฉนวน

ที่ใช้ต้านทานแรงดันได้สูงพอกับส่วนที่เป็นไฟฟ้านั้น หรือ(2)

ได้ปิดหรือนําฉนวนมาหุ้มสิ่งที่มีไฟฟ้า โดยฉนวนที่ใช้หุ้มนั้นป้องกัน
แรงดันไฟฟ้านั้นๆ ได้ หรือ
(3) ลูกจ้างที่ปฏิบัติงานกับสิ่งที่มีไฟฟ้าด้วยเทคนิคการปฏิบัติงาน

ด้วยมือเปล่า และอยู่ภายใต้การควบคุมจากผู้ที่ได้รับใบอนุญาตเป็น

ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรม (แขนงไฟฟ้ากําลัง) จาก ก.ว.

หมวด 3
การเดินสายและเครื่องประกอบการเดินสาย
ข้อ 23 การเดินสายและเครื่องประกอบที่กําหนดในหมวดนี้ไม่ให้

ใช้ในสถานที่ซึ่งอาจจะเกิดอันตรายเนื่องจากวัตถุไวไฟ หรือ

ในสถานที่ที่อาจเกิดอันตรายจากการระเบิดได้ง่าย

ข้อ 24 การเดินสายภายในอาคาร
หมวด 4
ระบบการป้องกันกระแสไฟฟ้าเกินขนาด
หมวด 5
การออกแบบติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า
หมวด 6
สายดินและการต่อสายดิน
หมวด 7
การติดตั้งสายล่อฟ้า

วันอังคารที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2551

กุญแจก้านโยกใช้กับประตูเหล็ก และ ทำMaster Keys

ประตูไดมอนดอร์ DM-8 ; บานประตูทนไฟ ต้องสั่งผลิต





ประตูไดมอนดอร์ DM-6 ; บานเดี่ยว , บานคู่



ประตูมาตรฐาน ที่เรามีบริการท่าน ; ส่งคือ ขนาด 80x200x3.5 cm วงกบ+บานพับ+บานเคลือบ-อบสีสำเร็จรูป

ประตูไดมอนดอร์ DM-4 ; บานเดี่ยว , บานคู่

ประตูไดมอนดอร์ DM-2 ; บานเดี่ยว , บานคู่

ประตูไดมอนดอร์ - DM 1

การใช้งาน ประตูไดมอนดอร์

ประตูเหล็กทนไฟ


วัสดุที่ใช้ผลิตประตูของเรา ประกอบด้วยเหล็กทั้งหมด
ทั้งนี้ ไม่รวมยางกันกระแทก หรือยางกันควัน
จึงกล่าวได้ว่าเป็นบานประตูประเภททนไฟ
สามารถป้องกันอัคคีภัยได้ในระดับหนึ่ง ซึ่ง
ประตูกันไฟดังกล่าว นี้ จะบรรจุฉนวนกันความร้อน
ประเภท Rock - Wool หรือ ใยหิน อัดอยู่
ภายในบานประตู เพื่อป้องกันความร้อนไม่ให้ผ่าน
ไปอีกห้องหนึ่งได้ในขณะเกิดเหตุเพลิงไหม้