วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

คานผลักประตูหนีไฟมาตรฐานสากล (UL)





คานผลักประตูหนีไฟมาตรฐานสากล (UL)
Tel.085-119-1619

วันศุกร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2551

ประตูเหล็ก Diamond Door : Tel.085-119-1619












เหตุผลที่ขอให้ท่านพิจารณาประตูเหล็กของเรา

เหตุผลที่ขอให้ท่านพิจารณาประตูเหล็กของเรา
1.ประตูเหล็กกันไฟจะใช้ฉนวนใยหิน(Rock-Wool)
2. ประตูเหล็กกันเสียงจะใช้ฉนวนใยแก้ว (Glass-Wool)หรือ โฟม (Urethane Foam)
วงกบเหล็กชนิดพิเศษนี้ออกแบบให้มีร่องสำหรับติดยาง Weather Seal
ไว้โดยรอบ เวลาปิดประตูขอบบานจะแนบสนิทกับขอบยางสามารถช่วยได้
ดังนี้
1. ยางที่วงกบ สามารถลดแรงกระแทกของบานประตู และสามารถปรับ โช้คอัพเพิ่ม-ลด แรงกระแทกได้
2. ป้องกันเสียง ได้อย่างน้อย 10-20 % ขึ้นอยูกับพื้นที่หน้างาน 80 % ว่า Shield สนิทดีหรือไม่
3. ป้องกันกลิ่นได้ 80-90 % ขึ้นอยูกับพื้นที่หน้างาน 10-20 % ว่า Shield สนิทดีหรือไม่
4. ควันป้องกันกลิ่นได้ 80-90 % ขึ้นอยูกับพื้นที่หน้างาน 10-20 % ว่า Shield สนิทดีหรือไม่
5. ฝุ่นละอองได้80-90 % ขึ้นอยูกับพื้นที่หน้างาน 10-20 % ว่า Shield สนิทดีหรือไม่
6. เหมาะสำหรับห้องที่ต้องการรักษาอุณหภูมิ ได้เช่นกัน
อุปกรณ์ ประกอบประตู
1.บานพับ ได้ถูกออกแบบ และ คำนวณ มาแล้ว ว่าใช้กับประตูของเราได้ อย่างดีที่สุด
2.กุญแจก้านโยก แนะนำให้ใช้ Dortec ซึ่งใช้ร่วมกับคานผลักประกอบด้วยเทคโนโลยีจากเยอรมัน
3.ลูกบิด แนะนำให้ใช้ Dortec ซึ่งใช้ร่วมกับคานผลัก
4.โช้คอัพประตูแนะนำให้ใช้ Dortec ซึ่งใช้ตามขนาดประตู เช่น
4.1 ขนาด ประตู 80x200 ,90x200 และ 100x200 cm แนะนำให้ใช้ DT63N แบบไม่ตั้งค้าง
4.2 ขนาด มากกว่า ข้อ 4.1 เช่น 120x210 cm แนะนำให้ใช้ DT64N แบบไม่ตั้งค้าง
5.คานผลักเปิดประตูหนีไฟ (Panic Bolt Set) แนะนำให้ใช้ Dortec ซึ่งใช้ร่วมกับ ก้านโยก หรือ
ลูกบิด ได้ทุกยี่ห้อ ทั่วโลก
6. ถ้าท่านไม่ใช้ คานผลัก ขอแนะนนำให้ใช้ กุญแจ ก้านโยก แบบ ล็อกภายใน และไขจากด้านนอก
ของ จัง-ควา (Junk-kwa) สั่งตรงมาจากเกาหลี

ขอข้อมูล+ใบเสนอราคา : thatsure@hotmail.com

วันอาทิตย์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2551

ตัวอย่างประตูไดมอนดอร์ : Tel.085-119-1619



ตัวอย่างประตูไดมอนดอร์ : Tel.085-119-1619

วันศุกร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2551

การตรวจสอบอาคาร



ปัจจุบัน กฏหมายควบคุมอาคาร ได้กำหนดกฏเกณฑ์
ในการตรวจสอบอาคาร เพื่อความปลอดภัย ของผู้ใช้
อาคาร เพื่อให้ทุกคนได้รับความปลอดภัยในการใช้
อาคารดังกล่าว แล้วเมื่อมีเจ้าหน้าที่ ของทางราชการเข้ามา
เขาก็จะตรวจตราตาม หัวข้อหลักๆ ต่อไปนี้ครับ

การตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงของอาคาร

• การต่อเติมดัดแปลงปรับปรุงอาคาร

• การเปลี่ยนแปลงน้ำหนักบรรทุกบนพื้นอาคาร

• การเปลี่ยนสภาพการใช้อาคาร

• การเปลี่ยนแปลงวัสดุก่อสร้างหรือวัสดุตกแต่งอาคาร

• การชำรุดสึกหรอของอาคาร

• การวิบัติของโครงสร้างอาคาร

• การทรุดตัวของฐานรากอาคาร
การตรวจสอบระบบและอุปกรณ์ประกอบของอาคารๅ

1) ระบบบริการและอำนวยความสะดวก

• ระบบลิฟต์

• ระบบบันไดเลื่อน

• ระบบไฟฟ้า

• ระบบปรับอากาศ
2) ระบบสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม

• ระบบประปา

• ระบบระบายน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสีย

• ระบบระบายน้ำฝน

• ระบบจัดการมูลฝอย

• ระบบระบายอากาศ

• ระบบควบคุมมลพิษทางอากาศและเสียง
3) ระบบป้องกันและระงับอัคคีภัย

• ประตูหนีไฟ บันไดหนีไฟและทางหนีไฟ

• เครื่องหมายและไฟป้ายทางออกฉุกเฉิน

• ระบบระบายควันและควบคุมการแพร่กระจายควัน

• ระบบไฟฟ้าสำรองฉุกเฉิน

• ระบบลิฟต์ดับเพลิง

• ระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้

• ระบบการติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิง

• ระบบจ่ายน้ำดับเพลิง เครื่องสูบน้ำดังเพลิง และหัวฉีดน้ำดับเพลิง

• ระบบดับเพลิงอัตโนมัติ

• ระบบป้องกันฟ้าผ่า

การตรวจสอบสมรรถนะของระบบและอุปกรณ์ต่างๆ ของอาคาร

เพื่ออพยพผู้ใช้อาคาร

• สมรรถนะของประตูหนีไฟ บันไดหนีไฟและทางหนีไฟ

• สมรรถนะเครื่องหมาย และไฟป้ายทางออกฉุกเฉิน

• สมรรถนะระบบแจ้งสัญญาณเหตุเพลิงไหม้

การตรวจสอบระบบบริหารจัดการความปลอดภัยในอาคาร

• แผนการป้องกันและระงับอัคคีภัยในอาคาร

• แผนการซ้อมอพยพผู้ใช้อาคาร

• แผนการบริหารจัดการเกี่ยวกับความปลอดภัยในอาคาร

• แผนการบริหารจัดการของผู้ตรวจสอบอาคาร
ลักษณะบริเวณที่ต้องตรวจสอบ |||||

ผู้ตรวจสอบจะตรวจสอบ รายงาน และประเมินลักษณะ

บริเวณที่นอกเหนือจากอาคารดังต่อไปนี้

• ทางเข้าออกของรถดับเพลิง


ระบบโครงสร้าง |||||

ผู้ตรวจสอบจะตรวจสอบตามรายละเอียดดังต่อไปนี้

• ส่วนของฐานราก

• ระบบโครงสร้าง

• ระบบโครงหลังคา

สภาพการใช้งานตามที่เห็น การสั่นสะเทือนของพื้น

การแอ่นตัวของพื้น คาน หรือตง และการเคลื่อนตัวในแนวราบ

การเสื่อมสภาพของโครงสร้างที่จะมีผลกระทบต่อ

ความมั่นคงแข็งแรงของระบบโครงสร้างของอาคาร

ความเสียหายและอันตรายของโครงสร้าง เช่น

ความเสียหายเนื่องจากอัคคีภัย ความเสียหายจาก

การแอ่นตัว ของโครงข้อหมุน และการเอียงตัวของผนัง เป็นต้น

ระบบบริการและอำนวยความสะดวก |||||
ระบบลิฟต์ ผู้ตรวจสอบจะทำการตรวจสอบครอบคลุมอย่างน้อย ดังนี้

• ตรวจสอบอุปกรณ์ระบบลิฟต์

• ตรวจสอบการทำงานของลิฟต์

• ตรวจสอบการดูแลรักษา ซ่อมบำรุง มีรายงานการ

ตรวจสอบมีใบรับรองการตรวจสอบ และการทดสอบระบบในอดีตที่ผ่านมา

ระบบบันไดเลื่อน ผู้ตรวจสอบจะทำการตรวจสอบครอบคลุมอย่างน้อย ดังนี้

• ตรวจสอบอุปกรณ์ระบบของบันไดเลื่อน

• ตรวจสอบการทำงานของบันไดเลื่อน

• ตรวจสอบการดูแลรักษา ซ่อมบำรุง มีรายงานการตรวจสอบมี

ใบรับรองการตรวจสอบ และการทดสอบระบบในอดีตที่ผ่านมา

ระบบไฟฟ้า ผู้ตรวจสอบจะตรวจสอบระบบไฟฟ้าและบริภัณฑ์ไฟฟ้า ดังนี้

• สภาพสายไฟฟ้า ขนาดกระแสของสาย จุดต่อสาย และอุณหภูมิขั้วต่อสาย

• ท่อร้อยสาย รางเดินสาย และรางเคเบิล

• ขนาดเครื่องป้องกันกระแสเกินและพิกัดตัดกระแสของ

บริภัณฑ์ประธานแผงย่อย และแผงวงจรย่อย

• เครื่องตัดไฟรั่ว

• การต่อลงดินของบริภัณฑ์ ขนาดตัวนำต่อลงดิน

และความต่อเนื่องลงดิน ของท่อร้อยสาย รางเดินสาย รางเคเบิล

• ระบบไฟฟ้าของระบบลิฟต์

• ระบบไฟฟ้าของระบบปรับอากาศ

• ระบบไฟฟ้าของเครื่องสูบน้ำ

• ระบบไฟฟ้าของระบบบำบัดน้ำเสีย

• รายการอื่นตามตารางรายการตรวจสอบ

ผู้ตรวจสอบไม่ต้องตรวจสอบในลักษณะดังนี้

• วัดหรือทดสอบแผงสวิตซ์ ที่ต้องให้สายวัด

สัมผัสกับบริภัณฑ์ในขณะที่ แผงสวิตซ์นั้นมีไฟหรือใช้งานอยู่

• ทดสอบการใช้งานอุปกรณ์ป้องกันกระแสเกิน

• ถอดออกหรือรื้อบริภัณฑ์ไฟฟ้า นอกจากเพียงเปิดฝา

แผงสวิตซ์ แผงควบคุม เพื่อตรวจสภาพบริภัณฑ์

ระบบปรับอากาศ ผู้ตรวจสอบจะตรวจสอบระบบปรับอากาศ ดังนี้

• อุปกรณ์เครื่องเป่าลมเย็น (AHU)

• สภาพทางกายภาพของเครื่องเป่าลมเย็น

• สภาพการกระจายลมเย็นที่เกิดขึ้น

• สภาพของอุปกรณ์และระบบควบคุม

||||| ระบบสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม |||||

ผู้ตรวจสอบจะตรวจสอบระบบสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม ดังนี้

• สภาพทางกายภาพและการทำงานของเครื่องจักรและ

อุปกรณ์ที่ใช้ในระบบประปา ระบบบำบัดน้ำเสียและระบายน้ำเสีย

ระบบระบายน้ำฝน ระบบจัดการขยะมูลฝอย ระบบระบายอากาศ

และระบบควบคุมมลพิษทางอากาศและเสียง

• ความสะอาดของ ถังเก็บน้ำประปา

||||| ระบบป้องกันและระงับอัคคีภัย |||||

ผู้ตรวจสอบจะตรวจสอบความปลอดภัยด้านอัคคีภัย ดังต่อไปนี้

บันไดหนีไฟ ทางหนีไฟ เครื่องหมาย และไฟป้ายบอกทางออกฉุกเฉิน

ผู้ตรวจสอบจะทำการตรวจสอบครอบคลุมอย่างน้อย ดังนี้

• ตรวจสอบสภาพราวจับ และราวกันตก

• ตรวจสอบความส่องสว่างของแสงไฟ บนเส้นทาง

• ตรวจสอบอุปสรรคสิ่งกีดขวาง ตลอดเส้นทางจนถึง

เส้นทางออกสู่ภายนอก อาคาร

• ตรวจสอบการปิด – เปิดประตู ตลอดเส้นทาง

• ตรวจสอบป้ายเครื่องหมายสัญลักษณ์

ระบบระบายควันและควบคุมการแพร่กระจายควัน

ผู้ตรวจสอบจะทำการตรวจสอบครอบคลุมอย่างน้อย ดังนี้

• ตรวจสอบสภาพอุปกรณ์ พร้อมระบบอุปกรณ์ควบคุมการทำงาน

• ทดสอบการทำงานว่าสามารถใช้ได้ทันที่ เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน

ทั้งแบบ อัตโนมัติ และแบบที่ใช้มือ รวมทั้งสามารถทำงานได้ต่อเนื่อง

โดยไม่หยุดชะงักขณะเกิดเพลิงไหม้

• การรั่วไหลของอากาศภายในช่องบันไดแบบปิดทึบที่มีระบบพัดลม

อัดอากาศ รวมทั้งการออกแรงผลักประตูเข้าบันไดขณะพัดลมอัดอากาศ

ทำงาน

• ตรวจสอบช่องเปิด เพื่อการระบายควันจากช่องบันไดและอาคาร

รวมถึงช่องลมเข้าเพื่อเติมอากาศเข้ามาแทนที่ด้วย

• ตรวจสอบการดูแลรักษา ซ่อมบำรุง และการทดสอบระบบในอดีตที่ผ่านมา

ระบบไฟฟ้าสำรองฉุกเฉิน ผู้ตรวจสอบจะทำการตรวจสอบครอบคลุมอย่างน้อย ดังนี้

• ตรวจสอบสภาพและความพร้อมของแบตเตอรี่ เพื่อสตาร์ทเครื่องยนต์

• ตรวจสอบสภาพและความพร้อมของระบบจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง เครื่องยนต์

และปริมาณน้ำมันที่สำรองไว้

• ตรวจสอบการทำงานของระบบไฟฟ้าสำรอง ทั้งแบบอัตโนมัติและแบบที่ใช้มือ

• ตรวจสอบการระบายอากาศ ขณะเครื่องยนต์ทำงาน

• ตรวจสอบวงจรระบบจ่ายไฟฟ้า ให้แก่อุปกรณ์ช่วยเหลือชีวิต และที่สำคัญอื่น ๆ

ว่ามีความมั่นคงในการจ่ายไฟฟ้าดีขณะเกิดเพลิงไหม้ในอาคาร

• ตรวจสอบการดูแลรักษา ซ่อมบำรุง และการทดสอบระบบในอดีตที่ผ่านมา

ระบบลิฟต์ดับเพลิง ผู้ตรวจสอบจะทำการตรวจสอบครอบคลุมอย่างน้อย ดังนี้

• ตรวจสอบตามเกณฑ์ทั่วไปของลิฟต์

• ตรวจสอบสภาพโถงปลอดควันไฟ รวมทั้งช่วงเปิดต่าง ๆ และประตู

• ตรวจสอบอุปกรณ์ระบบป้องกันอัคคีภัยต่าง ๆ ภายในโถงปลอดควันไฟ

• ตรวจสอบการป้องกันน้ำไหลลงสู่ช่องลิฟต์ ( ถ้ามี )

• ตรวจสอบการทำงานของลิฟต์ดับเพลิง รวมทั้งสัญญาณกระตุ้นจากระบบ

แจ้งเหตุเพลิงไหม้ และการทำงานของระบบอัดอากาศ (ถ้ามี)

• ตรวจสอบการดูแลรักษา ซ่อมบำรุง มีรายงานการตรวจสอบมีใบรับรอง

การตรวจสอบ และการทดสอบระบบในอดีตที่ผ่านมา

ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ผู้ตรวจสอบจะทำการตรวจสอบครอบคลุมอย่างน้อย ดังนี้

• ตรวจสอบความเหมาะสมของชนิดอุปกรณ์ตรวจจับเพลิงไหม้

ในแต่ละห้อง /พื้นที่ ครอบคลุมครบถ้วน

• ตรวจสอบอุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือ , อุปกรณ์แจ้งเหตุต่าง ๆครอบคลุมครบถ้วน

ตำแหน่งของแผงควบคุมและแผงแสดงผลเพลิงไหม้

• ตรวจสอบการทำงานของอุปกรณ์ระบบฉุกเฉินต่าง ๆ ที่ใช้สัญญาณ

กระตุ้นระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้

• ตรวจสอบความพร้อมในการแจ้งเหตุทั้งแบบอัตโนมัติ และแบบที่ใช้มือ

ของระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้

• ตรวจสอบขั้นตอนการแจ้งเหตุอัตโนมัติ และช่วงเวลาแต่ละขั้นตอน

เกี่ยวกับการตรวจไฟฟ้า
หมวด 1
ข้อกําหนดทั่วไป

ข้อ 2 นายจ้างต้องจัดทําแผนผังวงจรไฟฟ้าทั้งหมดภายในสถานที่ประกอบการ

และได้รับการรับรองจากการไฟฟ้าประจําท้องถิ่นไว้ให้ตรวจสอบได้ตลอดเวลา

หากมีการแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงให้ผิดไปจากเดิม ต้องดําเนินการ

แก้ไขแผนผังนั้นให้ถูกต้อง

ข้อ 3 นายจ้างจะต้องจัดให้มีการตรวจสอบสภาพของสายไฟฟ้าและ

สภาพของอุปกรณ์ไฟฟ้า ถ้าหากพบว่าชํารุดหรือมีกระแสไฟฟ้ารั่ว

ให้ซ่อมแซมหรือเปลี่ยนใหม่ทันที

ข้อ 4 ให้นายจ้างจัดให้มีป้ายเตือนอันตรายติดตั้งในบริเวณที่จะ

เกิดอันตรายจากไฟฟ้าให้เห็นได้อย่างชัดเจน

ข้อ 5 ห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างเข้าใกล้ หรือนําสิ่งที่เป็นตัวนําซึ่ง

ไม่มีที่ถือเป็นฉนวนอย่างดีหุ้มอยู่เข้าใกล้สิ่งที่มีไฟฟ้าน้อยกว่าระยะ

ห่างที่กําหนดไว้ในตารางที่ 1 ยกเว้น

(1) ลูกจ้างผู้นั้นสวมใส่เครื่องป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าซึ่งเป็นฉนวน

ที่ใช้ต้านทานแรงดันได้สูงพอกับส่วนที่เป็นไฟฟ้านั้น หรือ(2)

ได้ปิดหรือนําฉนวนมาหุ้มสิ่งที่มีไฟฟ้า โดยฉนวนที่ใช้หุ้มนั้นป้องกัน
แรงดันไฟฟ้านั้นๆ ได้ หรือ
(3) ลูกจ้างที่ปฏิบัติงานกับสิ่งที่มีไฟฟ้าด้วยเทคนิคการปฏิบัติงาน

ด้วยมือเปล่า และอยู่ภายใต้การควบคุมจากผู้ที่ได้รับใบอนุญาตเป็น

ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรม (แขนงไฟฟ้ากําลัง) จาก ก.ว.

หมวด 3
การเดินสายและเครื่องประกอบการเดินสาย
ข้อ 23 การเดินสายและเครื่องประกอบที่กําหนดในหมวดนี้ไม่ให้

ใช้ในสถานที่ซึ่งอาจจะเกิดอันตรายเนื่องจากวัตถุไวไฟ หรือ

ในสถานที่ที่อาจเกิดอันตรายจากการระเบิดได้ง่าย

ข้อ 24 การเดินสายภายในอาคาร
หมวด 4
ระบบการป้องกันกระแสไฟฟ้าเกินขนาด
หมวด 5
การออกแบบติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า
หมวด 6
สายดินและการต่อสายดิน
หมวด 7
การติดตั้งสายล่อฟ้า

วันอังคารที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2551

กุญแจก้านโยกใช้กับประตูเหล็ก และ ทำMaster Keys

ประตูไดมอนดอร์ DM-8 ; บานประตูทนไฟ ต้องสั่งผลิต





ประตูไดมอนดอร์ DM-6 ; บานเดี่ยว , บานคู่



ประตูมาตรฐาน ที่เรามีบริการท่าน ; ส่งคือ ขนาด 80x200x3.5 cm วงกบ+บานพับ+บานเคลือบ-อบสีสำเร็จรูป

ประตูไดมอนดอร์ DM-4 ; บานเดี่ยว , บานคู่

ประตูไดมอนดอร์ DM-2 ; บานเดี่ยว , บานคู่

ประตูไดมอนดอร์ - DM 1

การใช้งาน ประตูไดมอนดอร์

ประตูเหล็กทนไฟ


วัสดุที่ใช้ผลิตประตูของเรา ประกอบด้วยเหล็กทั้งหมด
ทั้งนี้ ไม่รวมยางกันกระแทก หรือยางกันควัน
จึงกล่าวได้ว่าเป็นบานประตูประเภททนไฟ
สามารถป้องกันอัคคีภัยได้ในระดับหนึ่ง ซึ่ง
ประตูกันไฟดังกล่าว นี้ จะบรรจุฉนวนกันความร้อน
ประเภท Rock - Wool หรือ ใยหิน อัดอยู่
ภายในบานประตู เพื่อป้องกันความร้อนไม่ให้ผ่าน
ไปอีกห้องหนึ่งได้ในขณะเกิดเหตุเพลิงไหม้